วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเทรดจาก the_greenday



เริ่มจากภาษาที่ใช้เป็นทางการที่เรียกใน กราฟ  อย่างเป็นทางการ
Market ตลาด       (ควรเรียนรู้ธรรมชาติตลาด ตลาดมีนิสัย มีความรู้สึกและมีอารมณ์ เสมอๆ)
Position sizing  จำนวนการ ซื้อ-ขาย
Entries จุดเข้าซื้อ    (รอจังหวะและหาจุดเข้าที่ดีโอกาสกำไรสูง)
Stop  จุดยอมขาดทุน   (ตัดขาดทุนให้เร็ว)
Exit การขายทำกำไร   (มองหาเป้าหมายและความน่าจะเป็นของเป้าหมาย)
Tactics กลยุทธ์     (วางแผนดี มีวิธีเล่นอย่างเป็นระบบที่แน่นอน)
หลักที่สำคัญที่สุด จุดตัดขาดทุน  Cut loss เมื่อรู้ว่าแนวโน้มวิ่งผิดทาง
Cut loss เมื่อไม่เป็นไปตามระบบที่เราวางแผน

หลักการมองกราฟทางเทคนิคมองแบบ มีขึ้นและก็มีลง  ขึ้นแล้วลง  ลงแล้วก็ขึ้น 
คิดและวางแผนก่อนเริ่มการ ซื้อ-ขาย 
ซื้ออะไร ซื้อเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่ ซื้อตอนไหน 
จุดหนี อยู่ตรงไหน(ยอมตัดขาดทุน) 
และจะขายทำกำไรเมื่อไหร่ 
ข้อคิดเตือนใจนักลงทุน
"ความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจาก อารมณ์ ของเราทั้งนั่น"
"เมื่อมองตลาดยังไม่ชัดเจน ก็ควรลดน้ำหนักการลงทุนลง"


มารู้หลักของการเรียก peak  Trough ในกราฟ
เรียนรู้ การขึ้น ลง เหมือนการขึ้นบันได ลงบันได
เข้าใจการขึ้น  เมื่อขึ้นแล้วเรียกว่า HH = Higher High  ย่อตัวลงมาเรียกว่า HL = Higher Low
เข้าใจการลง  เมื่อลงแล้วเรียกว่า  LL = Lower Low ย่อตัวขึ้นไปเรียกว่า LH = Lower High
การมองกราฟ เกิดภาพลวงตาได้เสมอๆอยู่ที่การฝึกฝนจนชำนาญแล้วจะไม่โดนกราฟหลอก
ตัวอย่างภาพ ลวงตา มองเห็นอะไร เป็นยังไง  เช่น ในกราฟก็มักจะมีอะไรที่เป็นกลไลหลายๆชั้นเช่นกัน
ตัวอย่างภาพ ลวงตา ภาพนิ่งแต่ขยับได้ เช่น มองกราฟช่วง sideway แล้วคิดว่ากำลังขึ้น คิดว่ากำลังลง
ตัวอย่างภาพ ลวงตา ภาพหลายมุมมอง เช่น มุมมองในการมองกราฟ หาจังหวะ หาเป้าหมาย หาจุดตัดขาดทุนในตลาดก็แตกต่างเช่นกัน
"เตรียมพร้อม วางแผนให้ดี รอบคอบ ระมัดะวัง อย่าคาดหวังมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยง''






แนวรับ(Support)   แนวต้าน (Resistance)  บอกนัยสำคัญต่างๆมากมาย หาได้ทั้งเป้าหมายและจุดตัดขาดทุน

แนวรับ ลงมารับแล้วดีดตัวขึ้นต่อ  ลงมารับแล้วย่อตัวขึ้นไปปรับฐาน ลงมารับแล้วปรับฐานจนสามารถทะลุลงต่อไปได้
แนวต้าน ขึ้นมาต้านแล้วดีดตัวลงต่อ  ขึ้นมาต้านแล้วย่อตัวลงไปปรับฐาน ขึ้นมาต้านแล้วปรับฐานจนสามารถทะลุขึ้นต่อไปได้

แนว รับ แนวต้านที่ดีนั่น ดูได้จากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต บริเวณไหนหนาแน่นบอกได้ถึงความแข็งแกร่งของระดับ แนวรับ แนวต้าน ตรงบริเวณที่ระดับราคานั่นๆ

รูป 1,2,3,4  บอกถึงแนวรับ ลงมารับ รับแล้วปรับตัว ลงมารับแล้วย่อขึ้นเพื่อปรับตัว ลงมารับแล้วลงต่อ
รูป r1,r2,r3,r4 บอกถึงแนวต้าน ขึ้นมาต้าน ต้านแล้วปรับตัว ขึ้นมาต้านแล้วย่อลงเพื่อปรับตัว ขึ้นมาต้านแล้วขึ้นต่อ
รูป rs1,rs2 บอกถึงแนวรับ แนวต้านที่ดี และแนวรับ แนวต้านที่ทะลุได้ง่าย











หลังจากที่รู้จักการทำ   HH = Higher High , HL = Higher Low ของแนวโน้มขาขึ้น
                        LL = Lower Low , LH = Lower High ของแนวโน้มขาลง
และรู้จัก แนวรับ,แนวต้าน รู้จักการทะลุไปต่อ รู้จักการย่อตัวของแนวโน้มนั่นๆ เมื่อเริ่มเข้าใจก็จะเริ่มหาจังหวะเพื่อเข้าเทรดได้
จังหวะ ที่เข้าที่ดีและปลอดภัย จังหวะยอมตัดขาดทุนที่ดีและขาดทุนน้อย สองอย่างนี้สำคัญเป็นอันดับต้นๆของนักลงทุนที่ควรนำไปพิจารณาให้รอบครอบ เสมอๆ






หลักการหาเป้าหมาย 
ทฤษฎี เท่า  

เริ่มจังหวะเข้าเมื่อ ย่อ ของการทำ HL ในแนวโน้มขาขึ้น
เริ่มหาจังหวะเข้าเมื่อ ย่อ ของการขึ้นไปทำ LH ในแนวโน้มขาลง

วิ ธีัการขาขึ้นต้องหาจุดต่ำสุดให้เจอก่อนและวิ่งขึ้นไปแล้วย่อลงมาทำ HL ในแนวโน้มขาขึ้นถึงจะเริ่มลากระยะความยาวของการย่อตัวลงมาเพื่อไปเทียบหา เป้าหมายด้วยความยาว เท่า
วิธีการขาลงต้องหาจุดสูงสุดให้เจอก่อนและ วิ่งลงไปแล้วย่อขึ้นมาทำ LH ในแนวโน้มขาลงถึงจะเริ่มลากระยะความยาวของการย่อตัวขึ้นมาเพื่อไปเทียบหา เป้าหมายด้วยความยาว 2เท่า




หลักการนำ Fibonacci เข้ามาช่วยหาการ ย่อตัวของแนวโน้มนั่นๆ
ตัวเลขที่มีนัยสำคัญของการย่อ 23.6 38.2 50.0 or 61.8  มักจะอยู่ในช่วงการย่อเสมอๆ
เมื่อย่อมาตามระดับตัวเลข 23.6 38.2 50.0 or 61.8  แล้วมักจะไปต่อตามแนวโน้มนั่นเสมอๆ
แต่ถ้าระดับ 23.6 38.2 50.0 or 61.8 ย่อแล้วไม่ดีดกลับแสดงว่ามีโอกาสผิดทางได้เช่นกัน

เมื่อรู้การย่อแล้วก็สามารถนำมาควบรวมเพื่อหาระดับเป้าหมายหลักการ เท่าได้
รูปตัวอย่างที่ เมื่อหาตัวเลขระดับการย่อได้แล้ว
รูปตัวอย่างที่ 2.1 เป็นรูปเดียวกันก็สามารถนำเอาหลักการหาเป้าหมาย เท่ามาใช้รวมกัน



ขอขอบพระคุณ  the_greenday